เทคนิคงานล่าม


1 มิ.ย 2016
ปรับปรุง 16 ส.ค 2019

language


เพิ่มเพื่อน

บทนำ


 

ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นสำหรับล่ามภาษาญี่ปุ่นโดยเฉพาะล่ามมือใหม่ เพื่อนำไปใช้เป็นเป็นแนวทางในการฝึกฝนเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น และประกอบวิชาชีพล่ามอย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งมีเนื้อหาและเทคนิคต่างๆที่ล่ามควรจะต้องรู้


และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับล่ามทุกๆคนไม่มากก็น้อย และถูกเผยแพร่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


co-worker

1. จรรยาบรรณล่าม

มีดังต่อไปนี้

ethics

1.1) ซื่อสัตย์สุจริต

แปลอย่างถูกต้องและครบถ้วนตรงตามผู้พูด โดยไม่สอดแทรกความคิดหรืออารมณ์ส่วนตัว


1.2) ยุติธรรม

มีความเป็นกลาง ไม่แปลโดยมีความรู้สึกลำเอียงหรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง


1.3) รักษาความลับ

รักษาความลับ ไม่นำข้อมูลที่ได้รับรู้ไปเปิดเผยให้กับบุคคลที่สาม


1.4) เคารพผู้อื่น

มีมารยาทในการแปล เช่น ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ผู้พูดยังพูดไม่จบ หรือขอโทษทุกครั้งเมื่อแปลผิด


2. ประเภทของล่าม

สามารถแบ่งตามสถานการณ์ได้ดังต่อไปนี้

interpreter

2.1) ล่ามพูดตาม 逐次通訳 consecutive

ล่ามจะแปลหลังจากผู้พูดๆ โดยผู้พูดจะหยุดให้เป็นช่วงๆ (สำหรับการสนธนาโต้ตอบกัน การสื่อสารหรือการประชุมทั่วๆไป)


2.2) ล่ามพูดพร้อม 同時通訳 simultaneous

ล่ามจะแปลพร้อมกับที่ผู้พูดๆ (สำหรับการประชุมต่อเนื่อง ผู้พูดนำเสนอข้อมูลทางเดียว)


2.3) ล่ามกระซิบ ウィスパーリング通訳 whispering

ล่ามจะคอยแปลอยู่ข้างๆผู้ฟัง


3. ล่ามในโรงงาน

3.1) สิ่งที่ต้องเรียนรู้
3.1.1) ผังองค์กร

การทำงานในองค์กร เราจำเป็นต้องรู้ว่ามีหน่วยงาน มีแผนก มีฝ่ายอะไรบ้าง ต้นสังกัดของเราอยู่ฝ่ายอะไร ใครเป็นหัวหน้าเรา ต่อไปเราจะต้องประสานงานกับใครบ้าง

organization-chart


factory

3.1.2) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กระบวนการผลิตถือเป็นหัวใจที่สำคัญของโรงงาน และยังเป็นเนื้อหาสำคัญที่ล่ามจะต้องเรียนรู้


3.1.3) คำศัพท์เฉพาะทาง

โรงหล่อ โรงแมชชีน โรงฉีดพลาสติก โรงประกอบ มีคำศัพท์เฉพาะทางที่แตกต่างกัน พยายามเรียนรู้แม้ว่าจะต้องเริ่มนับจากหนึ่ง


3.1.4) มนุษยสัมพันธ์

การทำงานในองค์กร เราจำเป็นต้องประสานงานหรืออาศัยความร่วมมือจากคนอื่นรอบข้าง ถ้ามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีก็จะช่วยให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น

co-worker


3.2) ลักษณะงาน
2.1) ล่าม

- ล่ามทั่วไป (สื่อสารทั่วไประหว่างเวลางาน)

- ล่ามในที่ประชุม (ภายในแผนก ระหว่างแผนก ระดับผู้จัดการ-ผู้บริหาร)

2.2) แปลเอกสาร

- บันทึกภายใน บันทึกการประชุม ประกาศ คำสั่ง คู่มือ มาตรฐาน ฯลฯ

2.3) อื่นๆ

- เข้าร่วมกิจกรรมของบริษัท เช่น กิจกรรมKaizen วันครอบครัว จิตอาสา งานเลี้ยงปีใหม่ ฯลฯ


4. ไวยากรณ์

ไวยากรณ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งไม่แพ้คำศัพท์ คำศัพท์ได้แต่ไวยากรณ์ไม่ได้ก็อาจสื่อความหมายผิดได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับล่ามมือใหม่ ในกรณีที่ต้องเจอกับไวยากรณ์ที่ซับซ้อนยากจนเกินไป ตัวอย่างเช่น

会議は明日8時~9時に2回の会議室で行います。

会議は明日行います/時間は8時~9時です/場所は2回の会議室です

明日13時~顧客が改善活動をフォローに来られます。

明日13時~お客さんが来ます/改善活動をフォローする為です

grammar อาจแก้ไขโดยการตัดแปลงรูปประโยค ใช้รูปไวยากรณ์ง่ายๆแทน รูปประโยคอาจจะยาวขึ้น แต่ก็สามารถสื่อความหมายได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องพยายามฝึกฝนนำรูปประโยคที่ซับซ้อนมาใช้ด้วยเช่นกัน

หนึ่งในจรรยาบรรณของล่ามคือ "แปลให้ถูกต้องครบถ้วน.." แต่ในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดทางภาษาและวัฒนธรรม หรือมีคำกริยาวิเศษณ์(Adv.)ซับซ้อนมากจนเกินไป และบางครั้งการยึดติดกับคำศัพท์นั้นมากจนเกินไปบวกกับความพยายามที่จะแปลให้ได้ครบถ้วน กลับทำให้สื่อความหมายได้ยากขึ้น

お疲れ様: ขอบคุณครับ???

เป็นการแสดงความขอบคุณหรือให้กำลังใจหลังจากเสร็จงาน หรือพูดตอนเลิกงาน

いつもお世話になります。:ขอบคุณที่คอยเป็นธุระให้อยู่เสมอๆ???

ทั้งสองคำนี้ยังเป็นคำขึ้นต้นในการทักทายจากการรับส่งเมลหรือคุยทางโทรศัพท์อีกด้วย

お邪魔します。: ขออนุญาตเข้าไปนะครับ???

พูดแสดงความมีมารยาทก่อนที่จะเข้าบ้านคนอื่น


บางครั้งอาจจำเป็นต้องตัดบางคำออกไป หรือใช้คำอื่นเทียบเคียง เพื่อให้ความหมายกระชับและสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น

5. เทคนิคการจดจำคำศัพท์
การพยายามนำคำศัพท์นั้นมาใช้บ่อยๆจะช่วยให้จดจำได้ดีขึ้น ควรเริ่มจากคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ เนื่องจากหน่วยความจำในสมองของเรามีจำกัด ไม่ควรเริ่มจำจากคำศัพท์ที่ยากหรือไม่ค่อยได้ใช้ และ ศึกษาทำความเข้าใจถึงแก่นแท้ของความหมาย เพราะบางคำในภาษาไทยอาจมีความหมายที่คล้ายคลึงกันแต่ในภาษาญี่ปุ่นมีการนำไปใช้ในความหมายหรือเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น

คำว่า 参考(さんこう)、参照(さんしょう)、引用(いんよう)ซึ่งแปลว่า"อ้างอิง"เหมือนๆกัน

รวมถึงศึกษาเกี่ยวกับคำช่วยที่ใช้หรือรูปประโยคด้วย เพราะการรู้คำศัพท์อย่างเดียวโดยใช้รูปประโยคที่ผิดอาจทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปได้

...を参考にする。อ้างอิง

...を参照する。อ้างอิง(ดูรายละเอียด)

...から引用する。อ้างอิงจาก


【実践】じっせん

ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองเกี่ยวกับหลักการ,ทฤษฎี ฯลฯ

【実行】じっこうこう

ลงมือกระทำจริง(+ความมุ่งมั่นตั้งใจ)

【実施】じっし

ดำเนินการจริงเกี่ยวกับแผนงาน,กฎหมาย/ ดำเนินการตามกำหนดการที่วางไว้

【行う】おこなう

ทำ,ดำเนินการ,จัดการ

「行う」สามารถใช้ในขอบเขตที่กว้างมากกว่า「実践」「実行」「実施」


● การออกเสียงขุ่น(濁音)และการเน้นเสียง(Accent) ก็มีความสำคัญ เช่น คำว่า 製造(せいぞう)ซึ่งแปลว่า"ผลิต" ถ้าออกเสียงพยางค์หลังไม่ถูกต้องก็อาจสื่อความหมายผิดเป็นคำว่า 清掃(せいそう)ซึ่งแปลว่า"ทำความสะอาด"....หรือคำว่า 飴(あめ)ออกเสียงว่า อะเม้ะ แปลว่า"ลูกอม" ส่วน 雨(あめ)ออกเสียงว่า อ้ะเหมะ แปลว่า"ฝน"....หรือคำว่า 橋(はし)ออกเสียงว่า หะชิ แปลว่า"สะพาน" ส่วน 箸(はし)ออกเสียงว่า ฮ้ะฉิ แปลว่า"ตะเกียบ"

kami 神(พระเจ้า) 紙(กระดาษ) 髪(ผม)

ishi 医師(แพทย์) 意思(ความตั้งใจ) 石(หิน)

hashi 端(ขอบ,ปลาย) 箸(ตะเกียบ) 橋(สะพาน)

mushi 虫(ขอบ,ปลาย) 無視(ไม่สนใจ) 蒸し(นึ่ง)

ichi 位置(ตำแหน่ง) 一(หนึ่ง)


● สกรรมกริยา และ อกรรมกริยา(他動詞、自動詞) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ล่ามมือใหม่หลายๆคนอาจจะยังสับสน ในภาษาไทยอย่างคำว่า "เพิ่ม" ไม่ว่าจะสกรรมหรืออกรรมก็ใช้คำเดียวกัน แต่ภาษาญี่ปุ่น...

สกรรม 増やす จะใช้คำช่วย を
เช่น 量を増やす แปลว่า เพิ่มปริมาณ
อกรรม 増える จะใช้คำช่วย が
เช่น 量が増える แปลว่า ปริมาณเพิ่มขึ้น

ยังมีคำอื่นๆอีก เช่น

สกรรม อกรรม
減らす 減る
上げる 上がる
変える 変わる
直す 直る

นอกจากนี้ก็ยังมีอีกคำที่มักใช้กันผิด คือคำว่า "เพิ่ม"นี่แหละ ในภาษาไทยมีคำเดียว แต่ภาษาญี่ปุ่นมีคำมาซะเยอะเลย เช่น 増やす 増える 上げる 上がる 加える 引き上げ 増加 上昇 向上
จะขอยกตัวอย่างคำว่า 上がる กับ 増える
โดยทั่วไป上がるจะใช้กับการเพิ่มขึ้นของระดับ ส่วน増えるจะใช้กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนหรือปริมาณ

ไม่ถูก ถูก
~率が増える ~率が上がる
~度が増える ~度が上がる

แต่คงอาจเคยได้ยินคนญี่ปุ่นพูดว่า 「なかなか数が上がらない」 ซึ่งผู้พูดต้องการจะสื่อถึงยอดงานที่ยังไม่ได้ตาม"ระดับ"หรือเป้าหมายที่วางเอาไว้

โดยเฉพาะ อกรรมกริยา มีบางคำที่เราต้องระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากมีความหมายในตัวเองว่า "ถูกกระทำ" เช่น คำว่า...
捕まる แปลว่า "ถูกจับ" เช่น 警察に捕まる   

อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้รูปถูกกระทำ (受け身) ไม่ได้ ซึ่งรูปประโยคจะบ่งบอกว่าผู้พูดอยากที่จะสื่ออะไรเป็นสำคัญ เช่น
警察が(泥棒)を捕まえた。 ตำรวจจับผู้ร้ายได้
ประโยคนี้เน้นที่ "ตำรวจ" ซึ่งเป็นประธานของประโยค

(泥棒)が警察に捕まえられた。ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ
ประโยคนี้เน้นที่ "ผู้ร้าย"

(泥棒)が警察に捕まった。ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ
ความหมายเหมือนกับประโยคที่2 แต่จะเน้นที่ "ถูกจับ"

●และที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ การออกเสียง "คาตาคานะ" ซึ่งสวนใหญ่เราจะเคยชินกับการพูดคำทับศัพท์ในภาษาไทย หรือแม้ว่าเราจะออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมากขนาดไหน แต่ถ้าไม่ใช่สำเนียงของญี่ปุ่น เค้าก็จะฟังไม่ออก ซึ่งเคยถูกคนญี่ปุ่นแซวเป็นประจำ เช่น คำว่า
คาตาคานะ ออกเสียงว่า ไม่ใช่
タイマー ไทม่า ทามเม่อ
タイミング ไทมิ่งกุ ทามมิ่ง
プラン พุรัง พุแรน
スケジュール สุเคะจู-ลุ สะเก้ดดู-
パトロール พะโทะโล-ลุ พะโทน
ゴルフ โกะรุฟุ โกฟุ

co-worker



●ล่ามส่วนใหญ่มักจะจดจำจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย (คงเป็นเพราะธรรมชาติของเรามุ่งที่จะเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น โดยมีภาษาไทยเป็นภาษาแม่อยู่แล้ว..จึงให้ความสำคัญในการจดจำภาษาไทยไว้ในส่วนหลัง) ซึ่งจะมีปัญหามากกับการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นจึง ควรจดจำคำศัพท์ในหลายๆมิติ เช่น จดจำทั้งจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นญี่ปุ่น คันจิเป็นฮิระกะนะหรือฮิระกะนะเป็นคันจิ เป็นต้น

ควรมีสมุดโน๊ตของตัวเองสำหรับจดคำศัพท์ นำมาอ่านทบทวนเป็นประจำ วิธีการนี้น่าจะช่วยให้จดจำได้ดีกว่าการหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านท่องจำแล้วก็วางลง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มทักษะในการเขียนอีกด้วย ตัวอย่าง....

漢字 ひらがな 意味/例文
任命 にんめい แต่งตั้ง

だれを(役職)に任命する

対応 たいおう รองรับ

~に対応する


●นักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นที่กำลังเรียนอยู่หรือที่เพิ่งจะจบใหม่หรือผู้ที่กำลังสนใจเรียนภาษาญี่ปุ่นคงมีโอกาศได้ดูสื่อหรือรายการโทรทัศน์ช่องภาษาญี่ปุ่นอยู่บ้าง ทุกคนคงอาจสงสัยว่าไม่เห็นเหมือนที่อาจารย์สอนเลย ฟังไม่เข้าใจเลย ...ก็เพราะว่านอกจากคำศัพท์ทั่วๆที่อยู่ในพจนานุกรมแล้วยังมีคำศัพท์แสลงและคำศัพท์เลียนเสียงธรรมชาติ (擬音語(ぎおんご)) รวมถึงคำศัพท์ภาษาท้องถิ่น ซึ่งจะมักอยู่ในภาษาพูดของคนญี่ปุ่นนั่นเอง

slang

step-up

คำศัพท์แสลง(俗語) เช่น
いい気味  สะใจ
うざい จุกจิก น่ารำคาญ
機嫌を取る ประจบ เอาใจ
ダサい เชย บ้านนอก
デブ  หมูตอน
ネタ มุข
ムカつく หมั่นไส้



คำศัพท์เลียนเสียงธรรมชาติ(擬音語、擬態語) เช่น
のろのろ ต่วมเตี่ยม ぶつぶつ     งุมงำ(บ่น)
ぽきっと ป๊อก(หัก) いきいき มีชีวิตชีวา
ガンガン ตึงๆ(เคาะ) もぐもぐ เอื้อกๆ(ดื่ม)
だらだら เฉื่อยชา べたべた หนึบหนับ
ぎりぎり จวนเจียน ばらばら กระจาย
ごちゃごちゃ ระเกะระกะ わくわく ตื่นเต้นดีใจ
ふらふら วิงเวียน らくらく สบายๆ

step-up

step-up






もぐもぐ ก็น่าจะมาจากเสียงจริงๆที่เกิดขึ้นตอนกลืนน้ำ“เอื้อกๆ” แต่คนญี่ปุ่นได้ยินเป็น ”มุกๆมุกๆ”







คำศัพท์ภาษาท้องถิ่น (方言)เช่น คันไซเบ็ง, บิงโกเบ็ง(ฮิโรชิม่า)
おおきに ขอบคุณ うみゃあ     อร่อย
なんぼ เท่าไหร่ すまんのう ขอโทษ
わからへん ไม่เข้าใจ なんにゃあ อะไร
あかん ไม่ได้ いけん ไม่ได้
ほんまに จริงๆเหรอ はよう เร็วๆ
しゃあない ช่วยไม่ได้ じゃけぇ ดังนั้น

step-up

step-up





●คันจิ คันจิในแต่ละตัวจะมีความหมายที่น่าสนใจซ่อนอยู่ ถ้าเราสนใจ เราก็จะสนุกที่จะเรียนรู้กับสิ่งนั้น

"บุชุ ー部首 bushu"  "บุชุ" หมายถึงส่วนของคันจิ ที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมายคร่าว ๆของอักษรนั้น ๆ  ซึ่งอาจปรากฎอยู่ ข้างซ้าย ข้างขวา  บนหรือ ล่าง ของตัวอักษรก็ได้ทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเรารู้ความหมายของ ”บุชุ” ก็จะช่วยให้เราจำได้ง่ายขึ้น

co-worker

中部電力 第692号 漢字

การวางตำแหน่งของ "บุชุ" แบ่งได้เป็น 7 ชนิด คือ
1.へん จะอยู่ด้าน ซ้าย ของคันจิ เช่น  イ、木 (体、林)
2.つくり จะอยู่ด้าน ขวา ของคันจิ เช่น  刂、頁 (利、顔)
3.かんむり จะอยู่ด้าน บน ของคันจิ เช่น  宀 (家、空)
4. あし จะอยู่ทางด้าน ล่าง ของคันจิ เช่น 貝、灬 (買、点)


co-worker

co-worker

5.たれ จะอยู่ด้าน บน+ซ้าย ของคันจิ เช่น 广、厂   (店、厚)
6.にょう จะอยู่ด้าน ซ้าย+ล่าง ของคันจิ เช่น 之、走 (近、起)
7.かまえ จะอยู่ รอบคันจิ 3-4ด้าน เช่น囗、 門、匚、勹、 冂、行(回、聞、医、包、同、術)


co-worker


co-worker

คันจิ เรียนรู้จากรูปภาพ

คันจิออนไลน์漢字่辞典Online


kanji1

kanji2


6. เทคนิคล่ามในที่ประชุม

มีดังต่อไปนี้

meeting

6.1) การเตรียมความพร้อม
กรณีเป็นล่ามในที่ประชุมและรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการประชุม... ให้ สอบถามที่ไปที่มา(Background) กับผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ ปริ้นท์เอกสารประชุม อ่านทำความเข้าใจเนื้อหา ศึกษาศัพท์ที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า ยิ่งถ้ามีเอกสารมาให้เราแปลก่อนก็จะยิ่งดี ซึ่งจะทำให้ตอนประชุมจริงราบรื่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้มีความมั่นใจมากขึ้นอีกด้วย
กรณีไม่รู้ล่วงหน้า...
ประสบการณ์ล้วนๆ
“ตำแหน่งการนั่ง” ก็อาจมีผลอยู่บ้าง ถ้าเป็นไปได้เราควรนั่งใกล้กับประธานประชุม หรือผู้พูดหลัก หรือนั่งในตำแหน่งที่หูจะรับเสียงได้ชัดเจน

“ความตื่นเต้น” ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับล่าม ทั้งๆที่เราน่าจะมีทักษะเพียงพอแต่เพราะความตื่นเต้นนี้แหละทำให้แปลไม่ถูก เสียSelfไปเลยทีเดียว
สาเหตุ?
✦ตัวเราเอง....กลัวว่าจะแปลไม่ได้ ไม่รู้ศัพท์ ไม่รู้ที่ไปที่มา หรือยังขาดชั่วโมงบิน(ล่าม) ยังไม่คุ้นเคยกับบรรยากาศ หรือเราอาจจะยังไม่ค่อยสนิทกับคนรอบข้าง
✦สภาพแวดล้อม... เป็นล่ามต่อหน้าคนหมู่มาก เป็นการประชุมที่มีแต่ผู้บริหาร บรรยากาศเคร่งเครียด แรงกดดัน
ถ้าขจัดอุปสรรคนี้ออกไปได้ก็มีชัยเกินครึ่ง

meeting

อย่างแรก คือ ต้องพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง ก่อน (แม้ว่าจะกล้าๆกลัวๆก็ตาม) การพยายามสบสายตาผู้ฟังก็อาจช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้เช่นกัน ถ้าความเชื่อมั่นมา....การพูดจาฉะฉานเสียงดังฟังชัดก็จะตามมาด้วย ซึ่งช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเราเองด้วย
อย่างที่สอง คือ ต้องมีสมาธิ เมื่อผู้พูดๆ ให้พยายามฟังทำความเข้าใจไปพร้อมๆกับการจดลงในสมุดโน๊ต ระหว่างที่ฟังอาจยังไม่จำเป็นต้องนึกคำศัพท์ว่าจะแปลว่าอะไรดี เพราะจะทำให้เสียสมาธิในการจดบันทึกได้

6.2) การจดบันทึก
การจดบันทึกมีประโยชน์อย่างมากสำหรับล่ามเพราะเปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยจำ หูต้องฟังสิ่งที่ผู้พูดๆ พร้อมกับสมองที่ต้องพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหา และมือต้องจดบันทึก (สมาธิ)
บางคนก็ใช้สมาธิไปกับการฟัง การทำความเข้าใจมากเกินไป เช่น ฟังไปก็คิดไปด้วยว่าประโยคนี้จะพูดว่าอะไรดี /ใช้คำศัพท์อะไรดี ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ทำให้เสียสมาธิในที่สุดจนไม่สามารถฟังผู้พูดได้อย่างครบถ้วน
ขอแนะนำว่าควรใช้สมาธิไปกับการจดให้มากกว่า..แล้วค่อยมาคิดแปลที่หลังน่าจะดีกว่า

คนที่มั่นใจ ไม่จดอะไรเลยแล้วแปลได้ก็OKอยู่นะ แต่ควรฝึกตัวเองให้รักการจด

ประโยชน์ของการจดบันทึก
1.ช่วยสร้างความสนใจและทำให้เกิดสมาธิในการฟัง
2.ช่วยให้เกิดการเรียบเรียงทางความคิด
3.ช่วยให้เกิดความจำ


co-worker

co-worker ●แน่นอน..การจดบันทึกทุกคำพูดคงเป็นไปไม่ได้ ควรจดเฉพาะประโยคใจความสำคัญ อาจใช้การจดย่อคำหรือสัญลักษณ์ต่างๆประกอบ(<=>?˄˅)หรือเขียนแทนด้วยคำภาษาอังกฤษอะไรก็ได้เพื่อให้เข้าใจง่ายและไม่ต้องเสียเวลาในการจด การจดเนื้อหาลงในกระดาษ A4 1 แผ่น ควรแบ่งสัดส่วนของหน้ากระดาษซึ่งจะช่วยให้การจดบันทึกเป็นระเบียบและการประติดประต่อเนื้อหาดีขึ้น

ระหว่างการฟัง ถ้าฟังไม่ชัดเจนหรือไม่เข้าใจเนื้อหา ภายหลังที่ผู้พูดๆจบควรให้พูดซ้ำหรือถามเพื่อความชัดเจนอีกครั้งทีก่อนที่จะแปลเพื่อมารยาทที่ดี


วิธีการจดบันทึก มีดังนี้
✦เขียนแนวตั้ง จากบนลงล่าง
✦เขียนเยื้องบรรทัด ตามลำดับของรายละเอียด
✦เขียนเส้นจบ เมื่อขึ้นหัวเรื่องใหม่

ตัวอย่าง

note


7. อุปสรรคของล่าม

มีดังต่อไปนี้

1) ปัจจัยภายใน (ตัวเอง)
✦ทักษะทางภาษา

เช่น ดูหนัง ซีรีย์ญี่ปุ่น ฟังเพลง อ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น อ่านข่าวทางอินเตอร์เน็ต.. Website ภาษาญี่ปุ่นรายงานข่าวไทย (ข่าวใกล้ตัว...จดจำง่าย)

เช่น バンコク週報 パタヤ日本人会(PJA)
✦ความตื่นเต้น

มีการเตรียมพร้อมที่ดี พยายามสร้างความคุ้นเคยกับบรรยากาศ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง

   
เก็บชั่วโมงบิน สั่งสมประสบการณ์


2) ปัจจัยภายนอก

interpreter

✦สภาพแวดล้อม
✦ผู้พูด

พูดเร็ว ไม่หยุดให้ล่ามแปล พูดวกวน หาสาระไม่ได้ อารัมภบทเยอะ(โชว์หลักการ) ตอบไม่ตรงคำถาม

- พูดเร็ว “รบกวนพูดช้าๆหน่อยครับ”    
- ไม่หยุดให้ล่ามแปล “ขอล่ามแปลหน่อยครับ”    
ยอมเสียมารยาท พูดแปลแทรกขึ้นมาเลย
พูดได้พูดไป จดเก่งซ้ะอย่าง    

ใช้คำศัพท์ท้องถิ่น ศึกษาคำศัพท์ท้องถิ่น    

โชว์เหนือกว่าล่าม ตัวเองก็ฟังออก..พูดแทรกก่อนล่ามแปล พูดสบประมาท ไม่ให้เกียรติล่าม..หาว่าแปลไม่ตรงหรือป่าว

โมโห..แต่ต้องอดทน เป็นแรงผลักดันให้เราฝึกฝน
เรียนรู้ให้เก่ง พิสูจน์ตัวเองให้เค้าเห็น    
เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์


8. หน้าที่และความรับผิดชอบ

มีดังต่อไปนี้

1.มาทำหน้าที่ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่พยายามที่จะหลีกเลี่ยง
2.มาทำหน้าที่ตรงตามเวลานัดหมาย หรือส่งมอบงานตามเวลาที่กำหนด
3.ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าเรื่องของเวลาส่วนตัว ไม่ละทิ้งหน้าที่กลางคัน
4.รักษาความลับ โดยไม่นำไปเปิดเผยกับบุคคลที่3
5.แปลโดยไม่สอดแทรกความคิดเห็นหรือความรู้สึกส่วนตัว
6.แปลโดยไม่โน้มเอียงหรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
7.ใฝ่รู้ในสิ่งใหม่ พยายามพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถของตนอยู่เสมอ
8.ยอมรับในความผิดผลาดของตนหรือคำติชมเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข


note


9. บุคลิกภาพและมารยาท

มีดังต่อไปนี้

9.1) เรื่องทั่วไป

thai-child

1.แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เสื้อผ้าสะอาด ไม่มีกลิ่นตัวหรือกลิ่นปาก
2.ยืนหรือนั่งตัวตรง ไม่แกว่งแขนหรือส่ายตัวไปมา หมุนหรือกดปากกา ฯลฯ
3.พูดด้วยวาจาสุภาพเรียบร้อย ไม่ใช้คำพูดที่สนิทสนมหรือเป็นกันเองมากจนเกินไป
4.ไม่พูดแทรกขณะที่ผู้พูดยังพูดไม่จบ หรือขออนุญาตก่อนทุกครั้งเมื่อจำเป็น
5.ไม่พูดช้าหรือเร็วจนเกินไป
6.ขอโทษทุกครั้งเมื่อพูดผิดหรือแปลผิด
7.สบสายตาผู้ฟังขณะพูด (Eyes Contact)
8.แสดงความรู้สึกคล้อยตามผู้พูด เช่น ผยักหน้า หรือตอบรับ ครับ/ค่ะ
9.ให้เกียรติผู้พูดเสมอ ไม่แสดงความไม่พอใจหรือดูหมิ่นผู้พูด



9.2) การโค้งคำนับ (お辞儀)
การโค้งคำนับมี 3ระดับ ดังนี้

ojiki

1. โน้มตัว 15องศา

การทักทายทั่วๆไปกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า

2. โน้มตัว 30องศา

การแสดงความเคารพทั่วไปกับลูกค้าหรือหัวหน้า

3. โน้มตัว 45องศา

การแสดงความเคารพอย่างนอบน้อมกับลูกค้าคนสำคัญ ผู้อาวุโส เจ้านายระดับสูง หรือใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ หรือใช้เมื่อขอบคุณ/ขอโทษ

ayamaru


9.3) การแลกนามบัตร

thai-child

1.ทักทาย แนะนำตัว
2.ยื่นนามบัตรโดยหันด้านให้อีกฝ่ายสามารถอ่านข้อความได้ อาวุโสน้อยกว่ายื่นก่อน
3.ยื่น/รับสองมือความสูงเหนือระดับหน้าอก
4.ตรวจดูชื่อและตำแหน่ง
5.วางนามบัตรบนโต๊ะ เรียงลำดับตามตำแหน่งการนั่ง ไม่เก็บนามบัตรจนกว่าจะประชุมเสร็จ

ล่ามจะมีโอกาสรับนามบัตรเป็นส่วนใหญ่ ระวังอย่าให้เสียมารยาท เพราะอาจทำให้เราเสียภาพลักษณ์หรือขาดความน่าเชื่อถือได้




9.4) ตำแหน่งที่นั่ง(ห้องรับรอง)
มีหลักการพื้นฐานดังต่อไปนี้

1.สำหรับลูกค้าหรือเจ้านาย จัดให้นั่งไกลสุดจากประตูทางเข้า
2.กรณีที่มีโซฟากับเก้าอี้ จัดให้นั่งที่โซฟา
3.จัดให้นั่งฝั่งที่เห็นวิวทิวทัศน์จากหน้าต่างหรือฝั่งที่ไม่มีสิ่งรบกวน
4.กรณีโต๊ะรับรองที่ไม่มีฉากกั้น จัดให้นั่งชิดด้านในห่างจากโต๊ะทำงานปกติ

ayamaru

ตำแหน่งที่นั่ง(รถยนต์)

ayamaru

1.สำหรับลูกค้ารือเจ้านาย(กรณีมีพนักงานขับรถ)จัดให้นั่งด้านหลังฝั่งคนขับ
2.สำหรับผู้น้อยนั่งข้างคนขับ เผื่อจำเป็นต้องบอกทาง

ตามหลักการจะเป็นตามภาพด้านซ้ายมือ แต่ถ้านึกถึงความสะดวกและความปลอดภัย ก็ควรนั่งตามภาพด้านขวามือ







9.5) ข้อห้ามการใช้ตะเกียบ

1.ห้ามใช้ตะเกียบเกี่ยวชามมาใกล้ๆตัว
2.ห้ามลังเลว่าจะหยิบอะไรดี
3.ห้ามเลียตะเกียบ
4.ห้ามใช้ตะเกียบกวนหาในชาม
5.ห้ามใช้ตะเกียบเสียบอาหาร
6.ห้ามหยิบอาหารขึ้นมาแล้วเปลี่ยนไปหยิบอย่างอื่นกลางคัน
7.ห้ามวางตะเกียบไว้บนขอบชาม เพราะเหมือนกับว่าทานเสร็จแล้ว
8.ห้ามใช้มือกำตะเกียบ เพราะจะเหมือนกับว่าจะทำร้าย
9.ห้ามเคาะชาม เพราะเหมือนกับเรียกวิญญาณชั่วร้าย
10.ห้ามใช้ตะเกียบดันหรืออมเข้าไปในปาก
11.ห้ามไม่ให้มีน้ำหยดย้อยจากปลายตะเกียบ
12.ห้ามเอาตะเกียบมาติดกันแล้วตักเหมือนช้อน
13.ห้ามยกขอบชามไว้ที่ปากแล้วเขี่ยอาหารเข้าปาก
14.ห้ามกัดตะเกียบ
15.ห้ามแกว่งตะเกียบ

ayamaru